Author Archives: ktnltd

หม้อลมเบรค

อย่างที่ทราบ ๆ กันอยู่แล้วว่า “ระบบเบรค” เป็นสิ่งที่สำคัญเมื่อดูแลให้อยู่ในสภาพปกติพร้อมใช้ ก็จะเพิ่มความปลอดภัย ในทุกการเดินทาง ทั้งนี้ถ้ายังจำกันได้ “รู้ก่อนเหยียบ” เคยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับระบบ เบรก และปัญหาต่าง ๆ ไปแล้วในบทความเรื่อง ‘เบรก’ อย่าคิดว่าไม่สำคัญ , เรื่องของผ้าเบรค ,ทำไม?ต้องถ่าย:น้ำมันเบรค!! แต่อย่างไรก็ตามยังมีส่วนประกอบสำคัญอีกอย่างที่จะมองข้ามไปไม่ได้นั่นคือ “หม้อลมเบรค” (Brake Booster) ซึ่งมีหน้าที่สำคัญคือ ช่วยผ่อนแรงในการเหยียบเบรก ทำงานด้วยระบบสูญญากาศทั้งนี้ในหม้อลมเบรค จะมีแผ่นไดอะเฟรม และจะมีท่อต่อเชื่อมกับท่อไอดี เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน จะดูดเอาอากาศเพื่อใช้ในการจุดระเบิดผ่านท่อไอดี และท่อที่เชื่อมต่อไปยัง หม้อมลมเบรคด้วย ส่งผลทำให้ภายในหม้อลมมีสภาวะเป็นสูญญากาศ และเจ้าสูญญากาศนี้เองที่เป็นตัวช่วยผ่อนแรงในการเหยียบเบรคของเราให้นุ่มนวล แต่ในทางกลับกัน เมื่อเครื่องยนต์ดับ เราจะสามารถเหยียบเบรคที่นุ่มนวล ได้แค่ 2-3 ครั้ง จากนั้นแป้นเบรกก็จะแข็งทื่อขึ้นมาในทันทีด้วยเหตุผลที่ว่าแรงลมดูดซึ่งถูกเก็บกักไว้ในหม้อลมเบรคหมดลงนั่นเอง ดังนั้นไม่ว่าชิ้นส่วนในระบบเบรก อาทิผ้าเบรก จานเบรค จะเทพขนาดไหน แต่ถ้าหม้อลมเบรก ชำรุด เสียหาย ชิ้นส่วนต่าง ๆ ก็ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพได้เช่นกันเทคนิคควรรู้วิธีตรวจสอบหม้อลมเบรค-ดับเครื่องยนต์ เหยียบเบรคให้สุดแล้วปล่อย 5-6 ครั้ง จนลมสูญญากาศหมดหม้อลม […]

พิกัดตำแหน่งเลขตัวถัง

ลูกค้าสามารถหาหมายเลขตัวถังได้จากที่ไหนเลขตัวถังรถ VIN (Vehicle Identification Number) นั้นจะมีความแตกต่างกันไป โดยปัจจุบันนี้มีมากถึง 17 หลักด้วยกันและหลักที่สำคัญ 6 หลักสุดท้ายนั้นก็คือ Chassis Number หรือหมายเลขเครื่อง ที่เปรียบเสมือน Serial Number ของรถเรานั่นเองแล้วเจ้าเลข VIN เหล่านี้ เราสามารถพบเจอได้จากส่วนไหนของรถบ้าง? 1. คู่มือหรือเอกสารประกอบรถต่างๆโดยเลข VIN จะปรากฏตามเอกสารต่างๆ เช่นกรรมสิทธิ์รถ เอกสารประกัน ใบแจ้งความ ประวัติรถและเล่มทะเบียนรถ 2. บนสติกเกอร์ พรบ. ที่หน้ากระจกรถจุดนี้มีชัวร์ในรถทุกคันที่ทำการต่อ พรบ. รถยนต์เรียบร้อยแล้ว สังเกตที่สติกเกอร์ พรบ. หน้ากระจกรถ บริเวณให้ยี่ห้อรถที่ขับ จะมีเลข VIN อยู่ 3. แผงหน้าปัดรถในรถบางคัน เมื่อมองผ่านจากกระจกฝั่งหน้าคนขับเราก็จะพบกับเลข VIN ตัวเดียวกันนี้ปรากฏบนแผงหน้าปัดรถเช่นกัน 4. ประตูฝั่งคนขับบางครั้ง VIN ก็อาจจะอยู่ที่กรอบประตูฝั่งคนขับ ให้เปิดประตูรถแล้วสังเกตุที่ขอบประตูก่อนอาจจะมีสติกเกอร์เล็กๆแปะอยู่ หรือลองดูแถวๆ ตัวล็อคเข็มขัดของฝั่งคนขับตามแต่รุ่น 5. […]

“รู้หรือไม่? เหยียบเบรคบ่อย ไม่ใช่เรื่องดี”

พฤติกรรมการขับขี่ด้วยวิธีเหยียบคันเร่ง แล้วพอถึงความเร็วก็ เบรค จากนั้นก็เร่งอีกครั้ง หรือเรียกอีกอย่างว่า ขับๆ เบรคๆ นั้นเอง ซึ่งการที่ เหยียบเบรค บ่อยๆ นั้นมีแต่ข้อเสีย การที่ เหยียบเบรค บ่อยๆ เป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง แถมยังมีข้อเสียอีกต่างหาก โดยเฉพาะชิ้นส่วนต่างๆ ของรถยนต์อาจจะสึกหรอเร็วกว่าปกติ ไม่ว่าจะเป็น ผ้าเบรค ที่หมดไวกว่าปกติ บางคนเปลี่ยน ผ้าเบรค ปีต่อปี ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผ้าเบรค จะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ 30,000-40,000 กิโลเมตร (ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมในการขับขี่ของแต่ละบุคคล) พร้อมทั้งเครื่องยนต์ และระบบส่งกำลังก็จะสึกหรอไปด้วยนอกจากนี้ การที่ เหยียบเบรค บ่อยๆ ยังสร้างความรำคาญให้กับรถคันข้างหลัง และอาจจะก่อเกิดอันตรายได้อีกด้วย แถมยังส่งผลเรื่องของการประหยัดน้ำมัน ไม่ว่าคุณจะขับรถอีโคคาร์ หรือขับรถหรูที่แสนจะมีราคาขนาดไหน ถ้ายังมีพฤติกรรมในการขับแบบเร่งๆ แล้วก็เบรกบ่อยๆ จะทำให้การสั่งจ่ายน้ำมันมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา เมื่อคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมเครื่องยนต์คำนวณจากการใช้ลิ้นเร่งของผู้ขับขี่ และเมื่อมีการปรับอยู่ตลอดเวลา จะทำให้การสั่งจ่ายน้ำมันไม่นิ่ง เมื่อมันไม่นิ่ง ก็จะส่งผลถึงอัตราประหยัดนั่นเองเราพอจะทราบถึงผลเสียของการขับรถแบบขับไปเบรคกันไปแล้ว หากใครที่มีพฤติกรรมแบบนี้ก็อยากให้ปรับปรุงกันนะคะ เพราะมันส่งผลต่อสุขภาพรถและตัวคุณเองด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.nikoyobrake.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89…/ Download QR

‘น้ำมันเบรก’มีผลต่อสมรรถนะการเบรกด้วยเหรอ?

น้ำมันเบรก ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดกำลังจากแป้นเบรกสู่ระบบห้ามล้อทั้ง 4 ล้อ เพื่อทำให้รถเคลื่อนที่ช้าลงหรือหยุดรถ ดังนั้น เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดกำลังที่ดี และทำให้เบรกทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นเราต้องรู้ถึงคุณสมบัติน้ำมันเบรกที่เราจะเลือกใช้เป็นอย่างไรบ้างน้ำมันเบรก คือ อะไร?ความจริงแล้วน้ำมันเบรกนี้ ไม่ใช่น้ำมัน! แต่เป็นสารผสมจำพวกอีเทอร์ (Ether) และ ไกลคอล (Glycol) ปัจจุบันเมืองไทยยังไม่มีคำจำกัดความของ Brake Fluid จึงเรียกว่า “น้ำมันเบรก” เพราะมีคุณสมบัติหล่อลื่นได้เหมือนน้ำมันนั่นเอง แต่ด้วยส่วนประกอบ 2 ตัวนี้ทำให้น้ำมันเบรกสามารถดูดซับความชื้นได้ดีมากแม้กับแค่อากาศหรือลมก็ตามทำไมต้องเปลี่ยนน้ำมันเบรก?รู้หรือไม่ สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ระยะเบรกเยอะ เบรกไม่ทัน หรือเบรกแตก ซึ่งในส่วนของการดูแลระบบเบรกนอกจากเปลี่ยนยางและผ้าเบรกแล้ว การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกเป็นส่วนหนึ่งที่หลายคนลืมไป หากน้ำมันเบรกเสื่อมสภาพ เพราะตัวน้ำมันเบรกไม่มีไฟเตือนที่หน้าปัดเมื่อเสื่อมสภาพ ต่างกับยางและผ้าเบรกที่ยังพอรู้สึกได้ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันได้- สัญญาณใดบ้างที่บอกว่า น้ำมันเบรกเริ่มเสื่อมสภาพน้ำมันเบรกแม้ว่าจะใช้หล่อลื่นได้ แต่ในทางกลับกันมันดูดซับความชื้นได้ดีมาก ๆ หากเทียบตามตารางการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกแล้ว ควรเปลี่ยนถ่ายทุก 1 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตร แต่ด้วยความที่เมืองไทยเป็นประเทศร้อนชื้นบวกกับพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ใช้รถ หากสีของน้ำมันเบรกมีสีคล้ำดำ แสดงว่าน้ำมันเบรกเสื่อมสภาพแล้ว ผลเสียจากการที่น้ำมันเบรกเสื่อมสภาพจะทำให้ประสิทธิภาพในการเบรกลดลง เบรกใช้ระยะมากขึ้น เกิดเสียงตอนเบรก ผ้าเบรกสีกับจานเบรกทำให้จานเบรกเป็นรอยหรือหัก หลังจากนั้นคือเรื่องที่ทุกคน ไม่อยากให้เกิดขึ้นคือ […]

ดรัมเบรก

เป็นเบรกยุคแรกๆที่นิยมใช้งานกัน และยังคงมีการใช้งานมาจนถึงยุคปัจจุบัน แต่จะติดไว้เพื่อใช้ห้ามล้อหลังเป็นส่วนใหญ่ หลักการทำงาน อธิบายแบบง่ายๆก็คือ ตัวจานเบรก ที่เป็นลักษณะทรงกลม จะยึดติดกับตัวดุมล้อเพื่อหมุนไปพร้อมกันกับตัวล้อ ส่วนช่องว่างด้านในก็จะมีผ้าเบรก ที่เป็นทรงครึ่งวงกลม 2 ชิ้น แนบโค้งไปตามแนวของจานเบรก และที่มีท่อส่งน้ำมันเบรกมาเชื่อมต่อเป็นตัวคอยถ่างผ้าเบรกให้ไปชนกับจานเบรก จนลดความเร็วของล้อลงได้ โดยชุดอุปกรณ์ด้านในนี้จะไม่หมุนไปตามล้อดรัมเบรกนี้เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาถูกกว่าดิสก์เบรก มีระยะเวลาในการใช้งานที่ยาวนานกว่า แต่การเปลี่ยนผ้าเบรกนั้นมีความยุ่งยากกว่า เพราะต้องถอดออกมาทั้งหมดเพื่อทำการเปลี่ยนนั่นเองดิสก์เบรกเป็นประเภทเบรกที่นิยมใช้กันมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะทำงานได้เร็วกว่าและมีการเปลี่ยนผ้าเบรกได้ง่ายกว่าดรัมเบรก ปัจจุบันรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไปทุกรุ่น จะมีการใช้ดิสก์เบรกที่ล้อคู่หน้ากันทั้งหมดแล้ว หลักการทำงานก็คือ จะมีแผ่นเหล็กที่เราเรียกว่าจานเบรก ติดเป็นแนวตั้งแล้วหมุนไปตามล้อ และก็จะมีชุดเบรกที่ประกอบผ้าเบรคที่แนบอยู่กับจานเบรกทั้ง 2 ด้าน และก้ามปูเบรกที่จะกดผ้าเบรกให้เข้าไปชิดกับจานเบรกเพื่อลดความเร็วของรถหรือหยุดรถตามแรงกดที่แป้นเบรกดิสก์เบรกนั้น ระบายความร้อนได้เร็ว เมื่อเปียกน้ำก็แห้งง่าย เปลี่ยนผ้าเบรกได้ง่าย แต่ราคาอุปกรณ์ยังสูงกว่าแบบดรัมเบรกน้ำมันเบรก, หม้อลมเบรกอีกชิ้นส่วนสำคัญที่จะช่วยส่งกำลังจากแป้นเบรกที่เราเหยียบ ไปสั่งให้ชุดเบรกที่ล้อทำงานได้ก็คือน้ำมันเบรกและหม้อลมเบรกนั่นเอง โดยหลักการทำงานก็คือ หม้อลมเบรกมีท่อที่เชื่อมต่อกับท่อไอดีของเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน จะมีการดูดไอดีจากภายนอกเข้าสู่เครื่องยนต์เพื่อทำการจุดระเบิด อากาศจากภายในหม้อลมเบรก จะถูกดูดไปด้วย จนทำให้ภายในเป็นสุญญากาศ และเมื่อมีแรงดันมาจากแป้นเบรก หม้อลมเบรกจะใช้สุญญากาศนี้เป็นตัวดันน้ำมันเบรกในแม่ปั๊มเบรกให้ไปสั่งชุดเบรกให้ทำงาน ไม่ว่าจะส่งแรงไปที่กระบอกเบรกที่ดรัมเบรก หรือก้ามปูเบรกของดิสก์เบรกก็ตาม ดังนั้นเราจะสังเกตเห็นได้ว่า เมื่อไหร่ที่เราไม่สตาร์ทเครื่อง เราจะไม่สามารถกดเบรกได้ หรือกดได้ก็ต้องใช้แรงมากกว่าเดิมหลายเท่าตัว เพราะมาจากในตัวหม้อลมเบรกไม่มีสุญญากาศในการช่วยผลักน้ำมันเบรกนั่นเองDOT3 หรือ DOT4?เวลาเราไปที่ร้านเพื่อจะซื้อน้ำมันเบรกมาใช้งาน เราก็มักจะเจอคำว่า DOT3 […]

น้ำมันเบรค ควรเปลี่ยนถ่ายปีละครั้งจริงหรือ

“เมื่อพูดถึง “ระบบเบรค” ผู้ใช้รถส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญไปที่ชิ้นส่วนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นผ้าเบรค-จานเบรค-คาลิปเปอร์ โดยมองข้ามสิ่งสำคัญคือ “น้ำมันเบรค” ไป ทั้งนี้ขอแนะนำให้เปลี่ยนถ่าย “น้ำมันเบรค” ปีละครั้ง ถึงตรงนี้หลาย ๆ ท่านคงเริ่มสงสัยว่ามันจำเป็นขนาดนั้นเชียวหรือ? วันนี้ จึงขอนำทุกท่านมารู้จักกับเจ้า “น้ำมันเบรค” ให้ลึกซึ้งขึ้นกว่าเดิม “น้ำมันเบรค” มีหน้าที่เป็นตัวกลางถ่ายทอดกำลัง กล่าวคือเมื่อเราเหยียบเบรค แรงกดจะถูกส่งไปที่ชุดแม่ปั้มเบรคบนที่มีหม้อลมช่วยผ่อนแรง จากนั้นแม่ปั้มเบรคจะทำหน้าที่อัดแรงดันน้ำมันเบรค ผ่านไปยังวาล์วปรับแรงดันให้เหมาะสมกับเบรคหน้า-หลัง ก่อนกระจายแรงผ่านลูกสูบไปดันผ้าเบรคให้เสียดทานกับจานเบรคจนเกิดความฝืดส่งผลให้รถชะลอความเร็วลง จนหยุดในที่สุด มาตรฐานความปลอดภัย “น้ำมันเบรค” ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดได้กำหนดชื่อมาตรฐานไว้คือ “DOT” (Department of Transportation) โดยกำหนดจุดเดือดของน้ำมันเบรค “DOT” 3 ต้องมีจุดเดือดไม่ต่ำกว่า 205 องศาเซลเซียส “DOT” 4 ต้องมีจุดเดือดไม่ต่ำกว่า 230 องศาเซลเซียส และ“DOT” 5 ต้องมีจุดเดือดไม่ต่ำกว่า 260องศาเซลเซียส คุณสมบัติของ “น้ำมันเบรค”ที่ดี -เป็นตัวกลางถ่ายทอดกำลังจากแป้นเบรก สู่ ระบบเบรคได้ดี -มีความหนืดที่เหมาะสม ทุกช่วงอุณหภูมิ […]

ระบบเบรค ABS (Antilock brake system)

ระบบ ABS ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนมากขึ้น รถยนต์รุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะเป็นระบบABS ทั้งหมด เนื่องจากมีความปลอดภัยสูงกว่ารถยนต์รุ่นเก่า