น้ำมันเบรก ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดกำลังจากแป้นเบรกสู่ระบบห้ามล้อทั้ง 4 ล้อ เพื่อทำให้รถเคลื่อนที่ช้าลงหรือหยุดรถ ดังนั้น เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดกำลังที่ดี และทำให้เบรกทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นเราต้องรู้ถึงคุณสมบัติน้ำมันเบรกที่เราจะเลือกใช้เป็นอย่างไรบ้างน้ำมันเบรก คือ อะไร?ความจริงแล้วน้ำมันเบรกนี้ ไม่ใช่น้ำมัน! แต่เป็นสารผสมจำพวกอีเทอร์ (Ether) และ ไกลคอล (Glycol) ปัจจุบันเมืองไทยยังไม่มีคำจำกัดความของ Brake Fluid จึงเรียกว่า “น้ำมันเบรก” เพราะมีคุณสมบัติหล่อลื่นได้เหมือนน้ำมันนั่นเอง แต่ด้วยส่วนประกอบ 2 ตัวนี้ทำให้น้ำมันเบรกสามารถดูดซับความชื้นได้ดีมากแม้กับแค่อากาศหรือลมก็ตามทำไมต้องเปลี่ยนน้ำมันเบรก?รู้หรือไม่ สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ระยะเบรกเยอะ เบรกไม่ทัน หรือเบรกแตก ซึ่งในส่วนของการดูแลระบบเบรกนอกจากเปลี่ยนยางและผ้าเบรกแล้ว การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกเป็นส่วนหนึ่งที่หลายคนลืมไป หากน้ำมันเบรกเสื่อมสภาพ เพราะตัวน้ำมันเบรกไม่มีไฟเตือนที่หน้าปัดเมื่อเสื่อมสภาพ ต่างกับยางและผ้าเบรกที่ยังพอรู้สึกได้ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันได้- สัญญาณใดบ้างที่บอกว่า น้ำมันเบรกเริ่มเสื่อมสภาพน้ำมันเบรกแม้ว่าจะใช้หล่อลื่นได้ แต่ในทางกลับกันมันดูดซับความชื้นได้ดีมาก ๆ หากเทียบตามตารางการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกแล้ว ควรเปลี่ยนถ่ายทุก 1 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตร แต่ด้วยความที่เมืองไทยเป็นประเทศร้อนชื้นบวกกับพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ใช้รถ หากสีของน้ำมันเบรกมีสีคล้ำดำ แสดงว่าน้ำมันเบรกเสื่อมสภาพแล้ว ผลเสียจากการที่น้ำมันเบรกเสื่อมสภาพจะทำให้ประสิทธิภาพในการเบรกลดลง เบรกใช้ระยะมากขึ้น เกิดเสียงตอนเบรก ผ้าเบรกสีกับจานเบรกทำให้จานเบรกเป็นรอยหรือหัก หลังจากนั้นคือเรื่องที่ทุกคน ไม่อยากให้เกิดขึ้นคือ “เบรกแตก” นั่นเอง นอกจากอันตรายต่อตัวผู้ขับแล้ว ยังอันตรายต่อเพื่อนร่วมถนนด้วยครับ- น้ำมันเบรกส่งผลให้เกิด เบรก – เฟด ได้อย่างไร?เรียกได้ว่า เป็นหนึ่งในอาการที่น่ากลัวที่สุด ซึ่งเกิดจากความบกพร่องของระบบเบรก คือ อาการเบรกไม่อยู่ หรือที่เรียกว่า “เบรก-เฟด” (Brake Fade) สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเบรกประเภท ดรัมเบรก และ ดิสค์เบรก โดยอาการของ เบรก-เฟด นั้น คือการที่เราเหยียบแป้นเบรกลงไปแล้ว แต่จานเบรก (หรือดิสค์เบรก) สามารถสร้างแรงต้านได้น้อยลง หรืออาจจะไม่มีแรงต้านเลย ส่งผลให้รถยนต์มีระยะเบรกที่มากขึ้น หรือในกรณีที่แย่ที่สุดก็คือว่า เบรกไม่อยู่เลยก็มีโดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1) อาการ เบรก-เฟดที่เกิดจากผ้าเบรก (Mechanical Fade) และ 2) อาการเบรก-เฟดที่เกิดจากน้ำมันเบรก (Fluid Fade)
1. MECHANICAL FADE (แมคคานิคอล เฟด) อาการเบรก-เฟด ที่เกิดจาก ‘ผ้าเบรก’อาการนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุและส่วนผสมของเนื้อผ้าเบรก ความหนาของผ้าเบรก รวมไปถึงอายุการใช้งานของผ้าเบรกด้วย เมื่อมีการใช้งานเบรกอย่างหนักหน่วง จนทำให้ผ้าเบรกร้อนเกินปกติ แล้วจะเริ่มละลาย ส่งผลให้ผ้าเบรกไม่สามารถ ‘สัมผัส’ กับจานเบรกได้ ในกรณี เราจะรู้สึกว่า เหยียบเบรกไปแบบเต็มที่แล้ว แต่รถยนต์ก็ไม่มีทีท่าว่าจะลดความเร็วลงเลย
2. FLUID FADE (ฟลูอิด เฟด) อาการเบรก-เฟด ที่เกิดจาก ‘น้ำมันเบรก’หลายๆ คนอาจจะงงว่า ‘น้ำมันเบรก’ มีผลต่อสมรรถนะการเบรกด้วยเหรอ? มันส่งผลให้เกิด เบรก-เฟด ได้อย่างไร?
น้ำมันเบรก คือของเหลวชนิดหนึ่ง ซึ่งของเหลวทุกอย่างบนโลกนี้ ล้วนสามารถเปลี่ยนสถานะกลายเป็น ‘ไอ’ (Vapor) ซึ่งถ้าเกิดเราให้ความร้อนจนถึงจุดหนึ่งซึ่งเรียกว่าจุดเดือด ของเหลวที่อยู่ในภาชนะใดๆ ก็จะกลายสถานะเป็นไอ และระเหยสู่บรรยากาศโดยทันที ซึ่งน้ำมันเบรกโดยทั่วไปมีจุดเดือดประมาณ 230 องศาเซลเซียส (น้ำมันเบรก DOT 5 มีจุดเดือดสูงถึง 260 องศาเซลเซียส) ถ้าหากว่าเราใช้เบรกอย่างต่อเนื่องแล้ว ความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเสียดสีกันของจานเบรกและผ้าเบรก จะทำให้น้ำมันเบรกที่อยู่ในท่อทางเดินมีอุณหภูมิสูงขึ้น และถ้าหากว่าอุณหภูมิดังกล่าว ‘สูงกว่า’ จุดเดือดของน้ำมันเบรก ก็เตรียมโบกมือลาเลยครับขอบคุณข้อมูลจาก https://www.valvoline.co.th/information/tips/202027.php