ความแตกต่างของ ดรัมเบรค กับ ดิสเบรค

ข้อแตกต่าง ระบบการทำงาน รวมไปถึงข้อดี-ข้อเสีย ของเบรกทั้ง 2 แบบนี้ จะมีอะไรบ้าง เดี๋ยวเรามาดูกัน

ดรัมเบรก (Drum Brake) ทำงานโดยใช้หลักการของแรงผลัก เพื่อทำให้ล้อรถเกิดแรงเฉื่อย ซึ่งภายในตัวดรัมเบรกจะมีฝักเบรก ที่ประกอบไปด้วยผ้าเบรก สปริง และลูกสูบที่ต่อเข้ากับสายเบรก ดังนั้นเมื่อคุณเหยียบเบรก น้ำมันเบรกก็จะผลักลูกสูบออกไปเพื่อดันฝักเบรกให้ไปดันกับขอบดรัมเบรกที่ หมุนไปกับล้ออีกทีหนึ่ง เพื่อสร้างแรงเฉื่อยให้กับรถของคุณ

ดิสก์เบรก (Disc Brake) จะทำงานคนละแบบกับดรัมเบรก เพราะระบบดิสก์เบรกนี้จะทำการบีบไปที่จานเบรก ซึ่งตัวที่ทำการบีบนี้จะเรียกว่า คาลิปเปอร์ (Caliper) โดยตัวมันจะถูกครอบเข้าไปที่จานเบรก และจานเบรกที่ว่าจะอยู่ติดกับล้อรถยนต์ นอกจากนี้คาลิปเปอร์จะไม่ถูกหมุนไปกับล้อรถ แต่ตัวลูกสูบยังคงถูกเชื่อมต่อเข้ากับสายเบรก ดังนั้นเมื่อคุณเหยียบเบรก ลูกสูบก็จะทำงานด้วยการดันผ้าเบรกให้ไปบีบกับจานเบรก และมันก็จะเกิดแรงเสียดทานขึ้นเพื่อใช้หยุดรถนั่นเอง

ข้อดี-ข้อเสีย ดรัมเบรก

ข้อดี

– ไม่ต้องใช้แรงเหยียบมาก ใช้แรงกดน้อย

– มีกำลังหยุดรถสูง เหมาะกับรถที่มีน้ำหนักเยอะ หรือรถที่ใช้บรรทุกของหนักๆ

– มีระบบปิดที่มิดชิด ไม่ต้องดูแลรักษาบ่อยๆ

ข้อเสีย

– มีความร้อนสะสมสูง

– ไม่ค่อยแม่นยำ เพราะการตอบสนองค่อนข้างช้า

– ระบายน้ำได้ไม่ค่อยดี

– ดูแลรักษายาก เพราะอยู่ในระบบปิด

ข้อดี-ข้อเสีย ดิสก์เบรก

ข้อดี

– ระบายความร้อนได้เร็ว และระบายน้ำได้ดี

– มีความแม่นยำ สามารถตอบสนองได้ทันที

– ตรวจเช็ก ทำความสะอาด และบำรุงรักษาง่าย สามารถทำได้ด้วยตนเอง

– ดูสวยงามกว่าดรัมเบรก

ข้อเสีย

– กำลังในการเบรกสู้ดรัมเบรกไม่ได้

– ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง

– เปลี่ยนผ้าเบรกบ่อย ผ้าเบรกหมดไว

ถึงแม้ระบบเบรกทั้ง 2 แบบจะมีข้อแตกต่างกันอยู่ไม่มากไม่น้อย แต่ระบบยอดนิยมในปัจจุบันก็คงจะหนีไม่พ้น ดิสก์เบรก เพราะนอกจากประสิทธิภาพในการใช้งานแล้ว มันยังสามารถอัพเกรดให้ดีขึ้น รวมไปถึงเพิ่มความสวยงามได้ง่ายกว่าดรัมเบรก แต่ถ้าคุณไม่อยากเปลี่ยน อยากใช้เดิมๆ ไม่อยากเสียเงินทำ ดรัมเบรกก็ใช้งานได้ดีเช่นกันครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *